วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552

อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย












ถ้ากล่าวถึงครูบาศรีวิชัยคงไม่มีใครในเชียงใหม่และภาคเหนือไม่รู้จัก เพราะท่านเป็นนักบุญแห่งลานนาไทย ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่บุกเบิกสร้างถนนขึ้นไปถึงดอยสุเทพ ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้ริเริ่มชักชวน ให้ประชาชนชาวเหนือร่วมแรงร่วมใจกันสร้างถนน จากเชิงดอย ขึ้นไปสู่วัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ โดยเริ่ม ลงมือเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2477 และแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2478 รวมระยะทางจากเชิงดอยไปถึง วัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ 10 กม. ซึ่งที่อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยนั้น ตั้งอยู่บนทางขึ้นดอยสุเทพ ก่อนถึงน้ำตกห้วยแก้ว ฉะนั้น ผู้ที่จะขึ้นไปนมัสการดอยสุเทพ มักจะลงนมัสการอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย เพื่อความเป็นสวัสดิมงคลกับตัวเอง และมีผู้คนหลั่งไหลเข้ามากราบไหว้ทุกวัน ทั้งกลางวันและกลางคืน ประมาณ 2,000-3,000 คน ต่อวันเลยทีเดียว แต่ถ้าเป็นในช่วงเทศกาลหรือวันหยุด จะมากกว่า 3,000 คนต่อวัน ซึ่งส่วนใหญ่ผู้คนจะไปกราบไหว้ ในช่วงเวลา เย็นๆ เพราะเป็นเวลาเลิกงานหรือเลิกเรียนพอดี จากคำบอกเล่า เหตุผลที่ไปกราบไว้อนุสาวรีย์นี้ เพราะเชื่อว่าเป็นสิริมงคลกับตัวเอง และบางคนไปกราบไหว้เพื่อ บนบานสิ่งที่ต้องการไว้ พอประสบผลสำเร็จตามที่บนไว้แล้วก็ ไปถวายของเพื่อทำพิธีแก้บน ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่า ประสบผลสำเร็จในสิ่งที่บนไว้ มากเลยทีเดียว
หากท่านผู้ใดสนใจที่จะไปกราบไหว้นมัสการ อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยก็ไปนมัสการได้ทุกวัน ทุกคืนนะค่ะและไม่ต้องเตรียมอะไรไป เพราะที่นั่นเขามีร้านขายของสักการบูชาพร้อมทุกอย่าง เอาแค่ใจกับความศรัทธาไปก็พอ

วัดพระธาตุดอยสุเทพ






วัดพระธาตุดอยสุเทพหรือ วัดดอยสุเทพ หรือ วัดดอย เป็นวัดที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่บนดอยสุเทพ ตั้งอยู่ที่ ๑๒๔ บ้านดอยสุเทพ หมู่ ๙ ตำบลสุเทพอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ - ปุย
เหตุที่ได้ชื่อว่า วัดพระธาตุดอยสุเทพ สันนิษฐานว่ามีฤาษีตนหนึ่งชื่อวาสุเทพหรือสุเทวะฤษี มาบำเพ็ญตะบะอยู่บนเขาลูกนี้ ผู้คนทั้งหลายจึงเรียกชื่อภูเขานี้ตามชื่อของฤาษี
อาคารเสนาสนะ โบราณวัตถุและปูชนียวัตถุของวัดประกอบด้วย อุโบสถทรงล้านนา ภายในมีจิตรกรรมฝาพนังภาพประวัติพระธาตุดอยสุเทพ พระวิหาร ๒ หลัง ด้านทิศตะวันตกประดิษฐานพระพุทธด้านทิศตะวันออกประดิษฐานพระพฤหัสถ์ ศาลาการเปรียญมีกุฎิ 30 หลัง ศาลาที่พักประชาชน หอฉัน สำนักชี ห้องสมุด หอพิพิธภัณฑ์ พระประธานในอุโบสถ พระพุทธรูปแบบพระสิงห์หนึ่งขัดสมาธิเพชร อนุสาวรีย์ช้างมงคล (ช้างพระที่นั่งของพระเจ้ากือนาที่บรรทุกโกศพระบรมธาตุเสี่ยงทายขึ้นมาบนดอยสุเทพ) อนุสาวรีย์พระสุเทวฤษี บันไดนาคซึ่งตัวนาคยาวถึง ๖๐ วา ตลอดจนปูชนียวัตถุที่สำคัญมากของวัดพระธาตุดอยสุเทพได้แก่ พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
องค์พระเจดีย์ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาแห่งหนึ่ง มีชื่อว่า ดอยสุเทพ แต่เดิมเป็นที่อยู่อาศัยของฤาษี มีนามว่า สุเทวะ เป็นภาษาบาลี มีความหมายว่า เทพเจ้าที่ดี ซึ่งตรงกับความหมายของคำว่า สุเทพ นั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงได้ ชื่อว่า ดอยสุเทพ ซึ่งมาจากชื่อของฤๅษี คือสุเทวะฤาษี

ตามประวัติได้แจ้งว่า เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 19 พระเจ้ากือนา ได้ทรงสร้างวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารไว้บนยอด เขาดอยสุเทพ โดยได้นำเอาพระบรมธาตุ ของพระพุทธเจ้า ที่พระมหาสวามี นำมาจากเมืองปางจา จังหวัดสุโขทัย บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์พระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร นอกจากจะเป็นวัดที่มีความสำคัญมากแล้ว ยังเป็นพระอารามหลวง 1 ใน 4 ของจังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย (พระอารามหลวงหมายถึง วัดที่อยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเจาอยู่หัวฯ) ชาวเชียงใหม่เคารพนับถือพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารมาก เสมือนหนึ่งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่มาแต่โบราณกาล

ในสมัยก่อน การขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพนั้น เป็นเรื่องที่ยากลำบากเหลือเกิน เพราะไม่มีถนนสะดวกสบายเหมือนปัจจุบัน ทางเดินก็แคบๆ และ ไม่ราบเรียบ ต้องผ่านป่าเขาลำเนาไพร และปีนเขาต้องใช้เวลายาวนานถึง 5ชั่วโมงกว่า จนมีคำกล่าวขานกันทั่วไปในสมัยนั้นว่า ถ้าไม่มีพลังบุญและศรัทธาเลื่อมใสจริงๆ ก็จะไม่มีโอกาสได้กราบไหว้พระธาตุดอยสุเทพ

ในปี พ.ศ.2477 (ค.ศ.1934) ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย มาจากวัดบ้านปาง จังหวัดลำพูน เป็นผู้เริ่มดำเนินการสร้างถนนขึ้นสู่พระธาตุดอยสุเทพ โดยมีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่สมัยนั้น เป็นผู้เริ่มขุดดินด้วยจอบเป็นปฐมฤกษ์ ตรงที่หน้าสวนสัตว์เชียงใหม่ปัจจุบัน ใกล้ๆ กับบริเวณน้ำตกห้วยแก้ว โดยเริ่มสร้างวันที่ 9 พฤศจิกายน 2477

บันใดนาค เป็นสัญลักษณ์สำคัญแห่งหนึ่งของวัดพระธาตุดอยสุเทพ มีความงดงามทางด้านศิลปะที่ทรงคุณค่า และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ นักท่องเที่ยวผู้มานมัสการพระบรมธาตุ มักจะต้องถ่ายภาพเป็นที่ระลึกที่ด้านของบันใดนาค ซึ่งมีทัศนียภาพงดงามและมีเสน่ห์เมื่อมองขึ้นไปตามขั้นใด นักท่องเที่ยวที่มาเยือนครั้งแรก มักจะเดิน ขึ้นหรือเดินลงบันใดนาคเสมอ แต่ส่วนใหญ่มักจะเดินลง ส่วนตอนขึ้นนั้นมักจะขึ้นทางลิฟท์หรือรถรางไฟฟ้า

รถรางไฟฟัาได้นำมาใช้บริการประชาชนผู้สูงอายุมานานกว่า 10 ปี ตอนแรกๆ ก็ใช้เพียงขนของสัมภาระขึ้น-ลงพระธาตุเท่านั้น ต่อมาภายหลังได้ทำการปรับปรุงระบบความปลอดภัยให้ดีขึ้น จึงให้้บริการประชาชนและนักท่องเที่ยวได้มีอายุการใช้งานรถรางไฟฟ้านานมากแล้ว ทางวัดจึงได้ทำการปรับปรุงและพัฒนาครั้งใหญ่เพื่อจะนำมาเสริมสร้างบริการที่ดี และปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวด้วยความมั่นใจยิ่ง
การเดินทาง

เดินทางตามถนนห้วยแก้ว ผ่านอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ไปตามทางคดเคี้ยวขึ้นเขา ระหว่างทางจะมองเห็นตัวเมืองเชียงใหม่อยู่เบื้องล่าง ระยะทางจากเชิงดอยประมาณ 11 กิโลเมตร เมื่อขึ้นมาจะแลเห็นบันไดนาคทอดยาวขึ้นไปสู่วัดสูง 300 กว่าขั้น วัดพระธาตุดอยสุเทพนี้เป็นปูชนียสถานคู่เมืองเชียงใหม่ นักท่องเที่ยวซึ่งเดินทางไปเชียงใหม่จะต้องขึ้นไปนมัสการพระบรมธาตุกันทุกคน ถ้าหากใครไม่ได้ขึ้นไปนมัสการแล้ว ถือเสมือนว่ายังมาไม่ถึง มีงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุในวันเพ็ญวิสาขบูชาทุกปี






เรียบเรียงจาก ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๓๓, จังหวัดเชียงใหม่ ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค พ.ศ. ๒๕๒๙, วัดสำคัญของนครเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๓๕

วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ขนมจีนน้ำเงี้ยว(ขนมเส้น)



ขนมจีน หรือเข้าหนมเส้น หรือเข้าเส้น ชาวล้านนานิยมมารับประทานเป็น ขนมจีนน้ำเงี้ยว หรือเข้าหนมเส้นน้ำเงี้ยว ( รัตนา พรหมพิชัย , 2542 , 825-826 ) น้ำเงี้ยวเป็นน้ำแกงที่รับประทานกับขนมจีนหรือเส้นก๋วยเตี๋ยว ถ้าเป็นก๋วยเตี๋ยว เรียกก๋วยเตี๋ยวน้ำเงี้ยว บางสูตรใช้ถั่วเน่าแข็บหรือถั่วเน่าแผ่นย่างไฟ โขลกลงในเครื่องแกง แทนการใส่เต้าเจี้ยว ชาวไทใหญ่ หรือเงี้ยว เรียกว่า เข้าเส้นน้ำหมากเขือส้ม ( รัตนา พรหมพิชัย , 2542 , 3221 )


ส่วนผสม
1.ขนมจีน1กิโลกรัม
2.เนื้อหมูบดหยาบ1/2กิโลกรัม
3.ซี่โครงหมู1/2กิโลกรัม
4.เลือดไก่ต้ม3ก้อน
5.
มะเขือเทศลูกเล็ก1/2กิโลกรัม
6.
งิ้วแห้ง10ดอก
7.เต้าเจี้ยว3ช้อนโต๊ะ
8.น้ำมันพืช1/2ถ้วยตวง




เครื่องแกง
1.พริกแห้ง10เม็ด
2.รากผักชี 10ต้น
3.
กระเทียม10กลีบ
4.
หอมแดง10หัว
5.
กะปิ3ช้อนโต๊ะ
6.เกลือ3ช้อนชา



เครื่องเคียง
1.กระเทียม
2.ผักชี
3.
ต้นหอม
4.พริกขี้หนูแห้งทอด
5.
มะนาว
6.
ถั่วงอก
7.
ผักกาดดอง



วิธีทำ


1. ต้มน้ำ พอเดือด ใส่ซี่โครงหมู ต้มจนหมูนุ่ม







2. โขลกเครื่องแกงรวมกันให้ละเอียด






3. ผัดเครื่องแกงกับน้ำมัน จนมีกลิ่นหอม ใส่เต้าเจี้ยวลงผัด คนให้เข้ากัน



4. ใส่หมูบด ผัดให้เข้ากัน จนหมูสุก








5. ใส่เครื่องแกงที่ผัดแล้วลงในน้ำหม้อต้มกระดูก ต้มจนเดือด ใส่ดอกงิ้ว ต้มต่อประมาณ 10 นาที








6. ใส่เลือดไก่ที่หั่นแล้ว คนให้ทั่ว








7. ใส่มะเขือเทศ








8. ตั้งไฟต่อประมาณ 5 นาที ยกลง นำขนมจีนใส่จาน ราดด้วยแกง (น้ำเงี้ยว) รับประทานกับเครื่องเคียง





เคล็ดลับในการปรุงการทำน้ำเงี้ยวสามารถใช้เลือดไก่หรือเลือดหมูก็ได้

ที่มา
รัตนา พรหมพิชัย. น้ำเงี้ยว. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (เล่ม 6, หน้า 3221). กรุงเทพฯ:มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

แกงโฮ๊ะ



แกงโฮะ คำว่า “โฮะ” แปลว่า รวม คือการนำเอาอาหารหลายๆ อย่างมารวมกัน ในสมัยก่อนแกงโฮะมักจะทำจากอาหารที่เหลือหลายๆ อย่างรวมกัน โดยอาจมีการปรุงรสตามใจชอบ หรือ เติมบางอย่าง เช่น วุ้นเส้น หน่อไม้ และแต่งกลิ่นโดยใส่ใบมะกรูด ตะไคร้ (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 490) ปัจจุบัน นิยมใช้ของสดในการปรุง และใช้แกงฮังเลเป็นเครื่องปรุง (ดีกิจ กัณทะกาลังค์, สัมภาษณ์, 20 มิถุนายน 2550)

ส่วนผสม
1.วุ้นเส้น 100กรัม
2.
หน่อไม้ดอง 50กรัม
3.
ถั่วฝักยาว20กรัม
4.
มะเขือพวง20กรัม
5.
มะเขือเปราะ 20กรัม
6.
ตำลึง10กรัม
7.
พริกขี้หนู5เม็ด
8.
ตะไคร้หั่น1ต้น
9.ใบมะกรูด5ใบ
10.
ต้นหอมซอย1ช้อนโต๊ะ
11.
ผักชีซอย1ช้อนโต๊ะ
12.น้ำมันพืช2ช้อนโต๊ะ
13.กะทิ2ช้อนโต๊ะ
14.แกงฮังเล150กรัม
15.ผงฮังเล1/2ช้อนชา

เครื่องแกง
1.พริกแห้ง7เม็ด
2.
พริกขี้หนูแห้ง4เม็ด
3.
หอมแดง3หัว
4.
กระเทียม10กลีบ
5.
ตะไคร้ซอย2ช้อนโต๊ะ
6.
ข่าซอย1/2ช้อนโต๊ะ
7.
กะปิหยาบ1/2ช้อนโต๊ะ
8.เกลือ1ช้อน



วิธีทำ




1. โขลกเครื่องแกงรวมกันให้ละเอียด แช่วุ้นเส้นให้พอนุ่ม ตัดเป็นท่อน.







2. ผัดเครื่องแกงกับน้ำมัน จนมีกลิ่นหอม ใส่ไก่ลงผัดให้เข้ากัน ใส่ผักสุกยาก ตามด้วยหน่อไม้ แล้วผัดให้เข้ากัน











3. เติมน้ำเล็กน้อย ใส่วุ้นเส้น ผัดให้เข้ากัน








4. ใส่ผงฮังเล ตามด้วยแกงฮังเล ผัดให้เข้ากัน











5.ใส่กะทิ แล้วตามด้วยผักสุกง่าย ผัดต่อจนสุก ยกลง







เคล็ดลับในการปรุงแกงโฮะ
ควรมีน้ำพอสมควร เมื่อใส่วุ้นเส้นลงไปจะทำให้สุกง่าย และแห้งพอดีควรใส่ผักที่สุกยากลงผัดก่อน ตามด้วยผักที่สุกง่ายเคล็ดลับในการเลือกส่วนผสม เลือกผักที่สดและใหม่ เลือกตามฤดูกาลที่ชอบก็ได้เลือกหน่อไม้ดองที่ใหม่ เทน้ำหน่อไม้ดองทิ้ง และล้างน้ำ 1 ครั้งก่อนนำลงผัด

ที่มา
รัตนา พรหมพิชัย. (2542). แกงโฮะ. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (เล่ม 1, หน้า 490). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.
เสาวภา ศักยพันธ์ และยุพยง วิจิตรศิลป์. (2538). อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ. เชียงใหม่: ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่



แกงฮังเล

แกงฮังเล




เริ่มต้นกันด้วย แกงฮังเล อาหารขึ้นหน้าขึ้นตาของเชียงใหม่
เวลามีงานขันโตกทีไร แกงชนิดนี้ต้องเป็นพระเอก เป็นแกงหลักของอาหารขันโตกเลยค่ะ
ทำไม่ยาก แล้วก็ไม่ง่ายเลยนะคะ


แกงฮังเลมี 2 ชนิด คือ แกงฮังเลม่าน และ แกงฮังเลเชียงแสน เชื่อกันว่าเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากพม่า สำหรับแกงฮังเลเชียงแสนจะแตกต่างตรงที่มีถั่วฝักยาว มะเขือยาว พริกสด หน่อไม้ดอง งาขาวคั่ว เพิ่มเข้ามา (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, หน้า 490) และใช้เป็นส่วนผสมของแกงโฮะ (เทียนชัย สุทธนิล, สัมภาษณ์, 19 มิถุนายน 2550)



ส่วนผสม
1.เนื้อสันคอหมู300กรัม
2.เนื้อหมูสามชั้น200กรัม
3.น้ำอ้อยป่น2ช้อนโต๊ะ
4.น้ำมะขามเปียก 3ช้อนโต๊ะ
5.ขิงซอย1/2ถ้วย
6.
กระเทียม1/2ถ้วย
7.
ถั่วลิสงคั่ว2ช้อนโต๊ะ
8.สับปะรด2ช้อนโต๊ะ
9.ผงฮังเล2ช้อนโต๊ะ


เครื่องแกง
1.พริกแห้ง7เม็ด
2.
พริกขี้หนูแห้ง4เม็ด
3.
หอมแดง3หัว
4.
กระเทียม20กลีบ
5.
ตะไคร้ซอย2ช้อนโต๊ะ
6.
ข่าซอย1ช้อนโต๊ะ
7.เกลือ1ช้อนชา
8.
กะปิหยาบ1/2ช้อนโต๊ะ



วิธีทำ



1. หั่นเนื้อหมูสันคอและหมูสามชั้นเป็นชิ้น ขนาด 1.5 x 1.5 นิ้ว










2. โขลกเครื่องแกงรวมกันให้ละเอียด








3. ผสมเครื่องแกง ผงฮังเล สับปะรด และเนื้อหมู คลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง









4. นำหมูที่หมักไว้มาตั้งไฟ ใส่น้ำเล็กน้อย ผัดจนกว่าหมูตึงตัว เคี่ยวต่อ คอยเติมน้ำเรื่อยๆ จนหมูนิ่มได้ที่








5. ใส่น้ำอ้อยป่น น้ำมะขามเปียก ใส่กระเทียม และขิงซอย คนให้เข้ากัน เคี่ยวต่อ









6. ใส่ถั่วลิสงคั่ว พอเดือดสักพัก ปิดไฟ





เคล็ดลับในการปรุงการคั่วเครื่องแกง

ใช้ไฟปานกลาง ใช้เนื้อกระท้อนแทนมะขามเปียกได้ ให้รสชาติเปรี้ยว และมีกลิ่นหอมเคล็ดลับในการเลือกส่วนผสมหมูสามชั้น ควรเลือกที่มันไม่หนาเกินไป หรือเลือกใช้ซี่โครงหมูแทน ก็ได้



ขอบคุณเวบ http://library.cmu.ac.th/
รัตนา พรหมพิชัย. (2542). แกงฮังเล. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (เล่ม 1, หน้า 490). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.